Author: dr.arkanay

  • 6 ปัจจัยทานน้อยทำไมน้ำหนักไม่ลด?

    6 ปัจจัยทานน้อยทำไมน้ำหนักไม่ลด?

    อย่าฝืน! ถ้ายังไม่รู้จักร่างกาย ฮอร์โมน และเซลล์ของตัวเองดีพอ เพราะถึงให้ทานน้อยขนาดไหน ออกกำลังกายหนักแค่ไหน คุมแคลอรีมื้อต่อมื้อ น้ำหนักก็ไม่มีวันลง! ถ้ายังดูแลไม่ถูกวิธี
    1. ทานอาหารผิดวิธี
    2. ฮอร์โมนบกพร่อง
    3. จุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล
    4. สารตกค้างในร่างกาย
    5. ความเครียด
    6. พักผ่อนน้อย
    The MetX Center ศูนย์ลดน้ำหนักแนวคิดใหม่ เพื่อจัดการไขมัน สุขภาพ และระบบเผาผลาญให้ดีขึ้นแบบครบทั้งระบบของร่างกาย ตรวจประเมินเชิงลึก ตรงจุด ชัดเจน และเฉพาะบุคคล เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ ฮอร์โมน และเซลล์ของคุณเอง

        Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • Fasting-mimicking diet (FMD) คืออะไร?

    Fasting-mimicking diet (FMD) คืออะไร?

    Fasting-mimicking diet (FMD) คืออะไร

               อาหารจำลองการอดอาหาร หมายถึง อาหารที่อาศัยวิธีการเตรียมในรูปแบบโปรแกรมการเลียนแบบการอดอาหาร เป็นการอดอาหาร 5 วันต่อเนื่องกันแต่ละช่วงเดือน จัดเป็นรูปแบบ prolong fasting (Brandhorst et al., 2015; Carol Torgan, 2015; Crupi, Haase, Brandhorst, & Longo, 2020; Yong-Quan Ng et al., 2020)  หรือการอดอาหารแบบระยะยาว นิยมปฏิบัติต่อเนื่องกันประมาณ 3-4 เดือน โดยเน้นเฉพาะช่วง 5 วันติดต่อกันในแต่ละเดือนเป็นหลัก โดยใช้ผลิตภัณฑ์และส่วนผสมจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามการทำเช่นนี้จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะอดอาหารโดยที่ระบบในร่างกายไม่รับรู้ว่ากำลังได้รับอาหารนี้ (Fanti, Mishra, Longo, & Brandhorst, 2021)

     

    เพราะเหตุใด Fasting-mimicking diet (FMD) จึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน

               FMD มีวิธีการอดอาหารเป็นเวลา 5 วันติดต่อกันและการรับประทานรูปแบบ AL คือรับประทานตามอำเภอใจ ในวันที่เหลือของแต่ละเดือน โดยลักษณะการบริโภคแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรตต่ำโปรตีนต่ำแต่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง (เหลือเพียงร้อยละ 25-30 ของความต้องการพลังงานต่อวัน) โดยพิจารณาจากการวัดค่า markers หรือ ปัจจัยเสี่ยงที่บ่งชี้เกี่ยวกับการเสื่อม การชะลอวัย และโรคที่เกี่ยวกับอายุไขต่างๆ (M. Wei et al., 2017) โปรแกรมอาหารจำลองการอดอาหารนี้อาศัยหลักการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการทดสอบทางการแพทย์ถูกคิดค้นโดย Valter Longo (Brandhorst & Longo, 2016) (Brandhorst et al., 2015; Brandhorst & Longo, 2019; Rangan et al., 2019) และคณาจารย์จาก University of Southern California (USC) สหรัฐอเมริกา เป็นการอดอาหารแบบระยะยาวที่ร่างกายยังสามารถบริโภคอาหารได้บ้าง เป็นการลดจำนวนพลังงานที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้โดยใช้อาหารพิเศษเฉพาะเพื่อหลอกให้ร่างกายว่าเป็นการอดอาหารโดยอาจเรียกว่าเป็น การอดอาหารแบบจำลอง ก็ได้

    รายการอาหารที่ออกแบบมานั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้บรรลุผลในการอดอาหาร ในขณะที่ร่างกายได้รับสารอาหาร micronutrients (วิตามิน, เกลือแร่, ฯลฯ ) อย่างครบถ้วน ซึ่งจะเป็นการลดภาระของการอดอาหารแบบจำกัดเวลา แต่ในระดับเซลล์ยังคงลักษณะคล้ายการอดอาหารซึ่งมีการศึกษาที่พบว่าได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากการให้ความร่วมมือสูงกว่าความอดทนจนครบโปรแกรมมากกว่าและทำได้ง่ายกว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันของเราทำให้เกิดความพึงพอใจจากการแสวงหาอาหารเพื่อตอบสนองความอยาก ความหิวโหยและรูปแบบอาหารในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและทำให้เป็นอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหารมากขึ้น ในขณะที่ FMD ที่เน้นหลักการ CR และ IF และเกิดขึ้นเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติรูปแบบวิธีการได้อย่างต่อเนื่องเนื่องจากมีอุปสรรคและผลข้างเคียงที่ส่งผลต่อการทำ CR และ IF

    นอกจากนี้ FMD ยังมีข้อมูลที่ส่งเสริมการยืดอายุของสุขภาพที่ไม่ใช่จากอายุการใช้งานในสัตว์ทดลอง ยังมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาทและลดริ้วรอยแห่งวัยและตัวบ่งชี้โรคเช่นเบาหวาน มะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย (Brandhorst et al., 2015; Cheng et al., 2017; Rangan et al., 2019; Min Wei et al., 2017)

     

        Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • การอดอาหารคืออะไร?

    การอดอาหารคืออะไร?

    การอดอาหาร (Fasting)

                 คือการงดหรืออดอาหารโดยไม่รับสารอาหารที่มีพลังงานเข้าไปในร่างกาย ประกอบด้วยรูปแบบอาหารปกติ (regular food หรือ solid food) หรืออาหารเหลว( liquid food ) โดยในระหว่างนี้สามารถรับประทานเครื่องดื่ม เช่น น้ำ ชา หรือกาแฟดำ ที่ไม่มีพลังงานได้ในปริมาณปกติ

                Biological fasting คือการอดอาหารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบชีวิทยาในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันนี้การอดอาหารเพื่อผลดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองประเภทดังต่อไปนี้

     1. การอดอาหารเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Fasting, IF)

    คือการอดอาหารเป็นการอดอาหารเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Fasting, IF ) หรือการจำกัดพลังงานแบบเป็นพักๆ (Intermittent energy restriction) สลับกับช่วงรับประทานอาหารปกติ เป็นรูปแบบที่ปรับการบริโภคอาหารชั่วคราวในขณะที่ยังคงการบริโภคพลังงานโดยรวมแบบไอโซคาลอริก (isocaloric) คือมีปริมาณพลังงานใกล้เคียงกัน (Ganesan, Habboush, & Sultan, 2018)  โดยทั่วไปการทำ Intermittent Fasting จะมีลักษณะที่ชัดเจนในการกำหนดช่วงเวลาในการรับประทานอาหารและช่วงเวลาที่อดอาหาร ซึ่งรูปแบบการบริโภคอาหาร พลังงานและสารอาหารที่จะได้รับจะยังคงเป็นปกติ โดยหลักการจะเป็นการจัดตารางเวลาสำหรับการรับประทานอาหารให้มีวงจรระหว่างการอดอาหาร หรือลดการพลังงาน สลับกับการไม่ได้อดอาหาร เป็นหนึ่งในวิธีการควบคุมอาหารที่มีรอบของช่วงการอดอาหารและการไม่อดอาหารตามเวลาที่กำหนด (de Cabo & Mattson, 2019) การอดอาหารเป็นช่วงนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการจำกัดพลังงานเพื่อการลดน้ำหนักและฟื้นฟูสภาพร่างกายและเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพได้ (Mattson, Longo, & Harvie, 2017) (de Cabo & Mattson, 2019; Mattson et al., 2017) (Ganesan et al., 2018)

    การอดอาหารเป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Fasting, IF) แบ่งได้เป็นดังต่อไปนี้

    • Alternated day fasting (ADF) คือการอดอาหารแบบสลับวันโดยหลักการจะขยายเวลาการบริโภคอาหารที่ไม่มีหรือมีพลังงานต่ำที่สุดใน 24 ชั่วโมง (ประมาณร้อยละ25 ของความต้องการพลังงานต่อวัน) และการรับประทานตามอำเภอใจ (ad libitum, AL) ในช่วง 24 ชั่วโมงถัดมา (Trepanowski et al., 2017)
    • Modified alternate day fasting คือ รูปแบบการอดอาหารที่ปรับจากการอดแบบสลับวัน โดยในวันที่กำหนดให้อดอาหาร 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถรับประทานอาหารได้บ้าง ซึ่งเป็นอาหารพลังงานต่ำประมาณ 500–600 แคลอรีในวันที่อด วิธีนี้สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าวิธี Alternated day Fasting
    • Partial modified alternate day fasting or 5:2 fasting  คือวิธีการอดอาหารที่ได้รับการปรับจาก modified alternate day fasting โดยกำหนดให้อดเพียง 2 วันต่อสัปดาห์ โดยวันที่อดอาหารจะสามารถรับประทานอาหารได้บ้าง ซึ่งเป็นอาหารพลังงานต่ำประมาณ 500–600 แคลอรีในวันที่อด และในวันที่ไม่ได้อดอาหาร 5 วันต่อสัปดาห์สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องจำกัดพลังงาน วิธีการนี้เป็นที่รู้จักในชื่อรับประทาน 5 วัน อด 2 วันหรือ 5 ต่อ 2 diets (Stekovic et al., 2019) การควบคุมอาหารแบบ 5 ต่อ 2 เป็นที่นิยมในปี 2012  เดิมทีมีคำแนะนำว่าอาจไม่ปลอดภัย แต่ปัจจุบันนี้มีการค้นพบแล้วว่าได้จะประโยชน์อย่างมากหากทำอย่างถูกต้อง ซึ่งมีคำแนะนำที่แตกต่างกันไปในเรื่องการรับประทานอาหารระหว่างช่วงอดอาหาร (Varady, 2011)
    • Time-restricted feeding (TRF) คือการรับประทานอาหารแบบจำกัด เวลา หมายถึงการบริโภคอาหารประจำวันถูก จำกัด ไว้ที่กรอบเวลาคงที่ (เช่นช่วงเวลาสี่ถึงสิบสองชั่วโมง) และไม่มีการบริโภคอะไรเลยจากหน้าต่างนี้ การจำกัดเวลารับประทานอาหาร หรือเรียกว่า  คือการกินอาหารเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดขึ้นว่ากี่ชั่วโมงในแต่ละวัน(Lowe et al., 2020) (Rothschild, Hoddy, Jambazian, & Varady, 2014) รูปแบบทั่วไปของ TRF มักนิยมเรียกว่าเป็นวิธี IF เช่น 16 ต่อ 8  20 ต่อ 4 หรือ 23 ต่อ 1 ยกตัวอย่างเช่น IF 16 ต่อ 8คือ อดอาหาร 16 ชั่วโมงต่อวัน และมีเวลารับประทานอาหารภายในระยะเวลา 8 ชั่วโมง โดยทั่วไปจะกำหนดเป็นเวลาเดียวกันในแต่ละวัน (Moro et al., 2016) ยังมีช่วงเวลาการกินที่เข้มงวดน้อยกว่า คือ อดอาหาร 12 ชั่วโมง และกินอาหาร 12 ชั่วโมง หรือหากเข้มงวดกว่าเดิม ก็อาจจะกินอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งอาจหมายถึงอดอาหาร 23 ชั่วโมง

     

    2. Periodic fasting

    คือการอดอาหารแบบต่อเนื่องโดยแบ่งช่วงเวลาเป็นการอดแบบต่อเนื่องยาวนานหรือไม่ต่อเนื่องกัน โดยมีหลายช่วงเวลาหรือต่อกันหลายๆเดือน หมายถึงมีช่วงที่งดรับประทานอาหารที่มีพลังงานทั้งหมดทุกประเภทและช่วงที่รับประทานอาหารปกติ โดยแบ่งเป็นแต่ละประเภทตามลักษณะช่วงเวลาและพลังงานดังนี้

    • การอดอาหารแบบระยะยาว (Prolong Fasting) เป็นการอดอาหารช่วงระยะเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปและมีรายงานสามารถยาวนานได้ถึง 21 วัน โดยระหว่างที่อดจะไม่รับประทานอาหารที่มีพลังงานเลย เช่นเดียวกับช่วงที่อดใน Alternated day fasting (ADF) อาจจะปฏิบัติเป็น 1 รอบต่อเดือนต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 เดือน พบว่าส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิบัติได้สำเร็จเนื่องจากค่อนข้างปฏิบัติได้ยากถึงแม้ว่าจะมีผลดีที่แตกต่างจากการอดแบบวิธีอื่นๆ อาทิ การกระตุ้นสเต็มเซลล์ เป็นต้น (Brandhorst et al., 2015; Longo & Mattson, 2014)
    • อาหารจำลองการอดอาหาร (Fasting-mimicking diet, FMD) ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดการรับประทานอาหารต่อเนื่อง 5 วันในรอบ 1 เดือน ตามสูตรการคำนวณพลังงานเฉพาะโดยวันที่ 6-30 สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แนะนำให้ปฏิบัติวิธีดังกล่าวนี้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 3 เดือน

    อย่างไรก็ตามการจำกัดแคลอรี่ในชีวิตประจำวันเป็นเป้าหมายระยะยาวที่ท้าทายมาโดยตลอด  ปัจจุบันนี้การอดอาหารและการควบคุมระยะเวลาการรับประทานอาหาร ได้กลายเป็นกระแสที่ผู้ที่รักสุขภาพหันมาให้ความสำคัญกันอย่างกว้างขวาง และได้มีการศึกษาพัฒนารูปแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อสรุปผลประโยชน์หลากหลาย จากข้อมูลการแบ่งประเภทข้างต้นจึงอาจพอสรุปได้ว่า Dietary Restriction (DR) ได้เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และสามารถจำแนกรูปแบบของสูตรได้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นการจำกัดแคลอรี่ หรือการอดอาหารแบบไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีคำว่า การรับประทานอาหารเลียนแบบการอดอาหาร หรือ fasting mimicking diet (FMD) ซึ่งเป็นอีกรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจนั่นเอง

    ในที่นี้ได้ระบุถึงอาหารที่เลียนแบบผลของการอดอาหารในบริบทที่เกี่ยวข้องกับผลของร่างกายที่เกิดจากการจำกัดพลังงาน เกี่ยวกับการบริโภคอาหารในรูปแบบต่างในปัจจุบัน โดยเป็นการนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์ซึ่งเป็นรายละเอียดของโปรแกรมอาหารจำลองการอดอาหาร และรูปแบบวิธีการจำกัดพลังงาน และผลต่อสุขภาพ (Longo & Mattson, 2014) อย่างไรก็ตามการรับประทานอาหารแบบต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นไปได้ยากสำหรับคนส่วนใหญ่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปจากเดิม วิธีการบริโภคอาหารที่จำกัดและพลังงานต่ำ ควรอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติอย่างที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะอาจก่อให้เกิดผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและการซ่อมแซมระบบต่างๆ ตามมาได้เช่นกัน

     

        Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • ทำไมต้องตรวจ Functional medicine ?

    ทำไมต้องตรวจ Functional medicine ?

    เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของแต่ละบุคคล (personalized treatment)  โดยมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูการทำงานของร่างกาย โดยวิถีธรรมชาติในระยะยาว (Sustainability)  ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (more efficiency)  ลดการสูญเสียเวลา ค่าใช้จ่ายจากการรักษาตามอาการ และลดความเสี่ยงจากการวินิจฉัยที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะผู้ที่มีสาเหตุการเจ็บป่วยที่คลุมเครือ ซับซ้อน และ มีอาการครอบคลุมไปในหลายระบบของร่างกาย  แพทย์โดยทั่วไปมักมุ่งหาคำตอบว่าจะต้องใช้ยาหรือเครื่องมืออะไรที่จะบรรเทารักษาอาการเจ็บป่วย  แต่แพทย์สมุทัยเวชศาสตร์มุ่งตรวจวินิจฉัยอย่างจริงจังว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยนั้นๆ เพื่ออกแบบการรักษาที่ตรงจุด ด้วยหลักการ ที่ว่า “holistic approach with integrative treatment”  ซึ่งอาจเป็น การปรับปรุงโภชนาการ การเสริมอาหาร การฟื้นฟูระบบทางเดินอาหาร การจัดการด้านความเครียด ฮอร์โมน อารมณ์ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดย “วิถีชีวาเวชศาสตร์” การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย  การฟื้นฟูฟังก์ชั่น การแพทย์ทางเลือก  หรืออื่น ๆ อีกมากมาย

    องค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน มีดังนี้

    1.สมุทัยเวชศาสตร์ (Functional  Medicine)

    • Replace (เติมเต็มส่วนขาด) เช่น วิตามิน แร่ธาตุ พลังงาน เป็นต้น
    • Remove (ขจัดส่วนเกิน) เช่น สารพิษ โลหะหนัก เชื้อโรค อนุมูลอิสระ เป็นต้น
    • Repair (ซ่อมเสริมสิ่งที่เสียหาย)
    • Rebuild (ฟื้นฟูสุขภาวะ)

    2.การตรวจวิเคราะห์สุขภาวะ (Health Assessment)

    3.การบำบัดรักษา (Treatment)

    เพราะฉะนั้นแล้ว แนวคิดองค์ความรู้ทาง Functional medicine จึงเป็นตัวบ่งชี้ความรู้ในบริบทของการตอบสาเหตุของความผิดปกติ ที่อาจป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ร่างกายให้ปรับสู่ ดุลยภาพที่สมบูรณ์สูงสุด นั่นเอง

     

                                                                                                                                                     Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • ความแตกต่างของการตรวจแนว Functional medicine กับการตรวจสุขภาพทั่วไป ?

    ความแตกต่างของการตรวจแนว Functional medicine กับการตรวจสุขภาพทั่วไป ?

    ความแตกต่างของการตรวจแนว Functional medicine กับการตรวจสุขภาพทั่วไป ?

    Keyword คือ  “คนไม่ป่วยก็ตรวจได้”  “คนไม่ป่วยไม่ได้หมายความว่าปกติ”  “สาเหตุที่แท้จริง”    “รู้ได้ล่วงหน้า”

    การตรวจวิเคราะห์สุขภาวะแนว (Functional Medicine) เป็นการตรวจในระดับที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  สามารถชี้ชัดถึงความไม่สมดุลของการทำงานของร่างกาย อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งมักจะประกอบด้วยหลายปัจจัย ร่วมกัน ทั้งนี้จะอาศัยรายงานผลของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ น้ำลาย อุจจาระ เป็นต้น เป็นข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์ เรียกว่าเป็นลักษณะที่หลายคนเรียกว่า early detection หรือแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า ไม่ต้องรอให้เป็นโรคแล้วจึงตรวจพบ แต่สามารถพบความผิดปกติตั้งแต่ยังไม่ก่อโรค ด้วยการอธิบายทางกลไกต่างๆตามหลัก สรีระวิทยา(physiology) ชีวเคมี (biochemistry)  กระบวนการเผาผลาญ การดูดซึมสารอาหารของร่างกาย การตกค้างของของเสีย สารพิษ และ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพในร่างกาย อันเป็นสาเหตุพื้นฐาน ที่นำไปสู่อาการ และผลของโรคต่างๆ การให้ความใส่ใจในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้ทราบถึงความไม่สมดุลของการทำงาน อันเป็นเหตุพื้นฐานของการเกิดโรค และอาการแสดงของโรคได้ดีกว่า ซึ่งจะนำไปสู่หนทางในการปรับปรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการทำงานของร่างกาย โดยวิถีของธรรมชาติ และ ให้ความหวังในการหายจากโรคเรื้อรังในระยะยาวได้มากกว่าการตรวจแบบทั่วไป ซึ่งมักจะนำไปสู่การดูแล โดยใช้ยา และปฏิบัติการต่าง เพื่อเข้าไปกด ยับยั้ง การทำงานปกติ เพื่อควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่เพียงในระยะเฉียบพลัน  จึงการตรวจสุขภาพทั่วไปว่าเป็นการมุ่งหา อาการ หรือ อาการแสดงที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว  ด้วยเหตุนี้จึงจัดว่าเป็นการมุ่งตรวจเพื่อมองหาโรคที่เป็นอยู่แล้ว หรือกำลังก่อตัวขึ้นแล้วเป็นสำคัญ

     

     

                                                                                                                                                     Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • การจำกัดอาหาร และการจำกัดแคลอรี่ คืออะไร?

    การจำกัดอาหาร และการจำกัดแคลอรี่ คืออะไร?

    การจำกัดอาหาร (Dietary Restriction, DR) หมายถึงการละเว้นโดยความตั้งใจจากการบริโภคองค์ประกอบของสารอาหารในกลุ่ม macronutrient กล่าวคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทำให้สมดุลของพลังงานลดลงหรือทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทของสภาวะสุขภาพในช่วงเวลานั้นๆ  (Masoro, 1998; Yong-Quan Ng, Yang-Wei Fann, Jo, Sobey, & Arumugam, 2020)

    การจำกัดแคลอรี่ (Caloric restriction, CR) หมายถึงรูปแบบการรับประทานอย่างต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดปริมาณพลังงานในแต่ละวันโดยประมาณร้อยละ 15-40 เมื่อเทียบกับการรับประทานตามอำเภอใจ (ad libitum, AL) วิธี Caloric restriction นี้ไม่ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ เป็นการควบคุมอาหารที่สามารถเพิ่มพูนสุขภาพและอายุที่ยืนยาวในมนุษย์และสัตว์หลายชนิดส่วนใหญ่อีกด้วย (Bales & Kraus, 2013; Yong-Quan Ng et al., 2020)

     

                                                                                                                                                     Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด พลังจากปัจเจกสู่จักรวาลในจานข้าว

    สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด พลังจากปัจเจกสู่จักรวาลในจานข้าว

    The Universe of Optimal Health สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด พลังจากปัจเจกสู่จักรวาลในจานข้าว
    Wellness Living Design: Home wellness Cuisine

    ไม่มีวิกฤติครั้งใดที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยเท่ากับ COVID-19 Pandemic ไม่มีวิกฤติครั้งใดที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยเท่ากับ COVID-19 Pandemic ในยุคสมัยของ New normal & Next normal  พร้อมยอมรับ ปรับตัว ไม่กลัว อนาคต พร้อมขับเคลื่อนแนวคิด ด้วยปรัชญาแห่งชีวิตวิถีใหม่ พร้อมเริ่มต้นกับการใส่ใจสุขภาพแบบบูรณาการ เมื่อบ้าน คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่งจะพักพิงและพึ่งพาหลังโควิดอย่างไรให้ สุขกาย สบายใจ   Pandamial Generation is ongoing uncertainty เมื่อวัยโชนแสงแห่ง ยุค Pandemial ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน สถานการณ์โควิดที่ทุกคนทราบดี พรากโอกาสในชีวิต อาทิ การศึกษาเรียนรู้ การปฎิบัติงาน ประสบการณ์และที่สำคัญคือเป้าหมายที่วางไว้ ล้มระเนระนาดอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว คือความสิ้นหวัง ทั้งถูกเปรียบเทียบจากรุ่นบุพการี สูญเสียศรัทธาในตนเอง สูญเสียพลังทั้งกายใจ ก่อเกิดความวิตกกังวลใจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและเครียดเรื้อรัง ยังผลต่อสุขภาวะทางกายอย่างยิ่งยวดด้วยองค์รวมของสุขภาพ

    Physical , Mental & Wellness health impact  เมื่อยุคสมัยส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่งอยู่กับที่ (Sedentary lifestyle)  ซึ่งจากหลายการวิจัยพบว่าเป็นสาเหตุการเกิดโรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome รวมไปถึงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs ) ที่น่ากลัวเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมองโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานหรือแม้กระทั่งปลายทาของเบาหวาน คือโรคไตวายเรื้อรังเป็นต้น  อีกประเด็นที่อยากจะหยิบยกนั่นก็คือทั้งสามภาวะข้างต้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ สุขภาวะทางภูมิคุ้มกัน (Immune health declined and imbalance) นับเป็น Post-Pandemic Wellness Trends ในการประคับประคองสุขภาวะสมบูรณ์สูงสุด เพื่อเข้าใกล้เป้าประสงค์หลักคือ Quality of life in all aspect นั่นเอง  อีกสิ่งที่อยากเน้นย้ำนั่นก็คือเมื่อเรารู้จักประเมินตนเองและมีองค์ความรู้ในการดูแลตนเองได้ดีมากพอ จะส่งผลให้ตัวเรากลายเป็นหมอที่ดีที่สุดของตัวเราเอง ( The best doctor is ourselves)

    How to optimize the symphony of wellness หากกล่าวถึงการดูแลแบบบูรณาการทางสุขภาพแล้วจะแนะนำให้คำนึงถึง 2 หลักการใหญ่ดังต่อไปนี้

    -Conceptualize Health & Wellness Perception ประเด็นนี้หมายถึงการให้คุณค่าและความหมายต่อการรับรู้และประเมินสุขภาพของตนเอง (Realize unhealthy lifestyles and recognize the consequences) กล่าวคือหากเราเข้าใจในผลกระทบ และรู้ว่าการดูแลด้วยวิธีการป้องกันก่อนแก้ไขมักจะได้ผลดีและยั่งยืนกว่าโดยอาศัยหลักคิด ง่ายๆ บ้านๆที่ว่าไม่มีใครอยากนั่งกินนอนกิน แต่ทุกคนอยากเดินไปกินวิ่งไปกิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สุขภาพดีจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต” ด้วยแนวคิดนี้จึงทำให้เราเห็นคุณค่าของ  Health span ซึ่งลึกซึ้งกว่า lifespan นั่นเอง

    -Lifestyle Modification Approaches เป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ร่วมไปกับการรักษาทางการแพทย์ แต่การที่จะสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ นั้นย่อมเป็นสิ่งท้าทายเสมอมา เพราะต้องอาศัย compliance หมายถึงความร่วมมือและมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบบูรณาการเบื้องต้น ดังนี้

    1.Diet: Cuisine: Nutrition   คงมิอาจต้องสาธยายมากกับประโยคที่ว่า “We are what we eat” เพราะทุกท่านคงจะเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี แต่จะตีความอย่างไรขึ้นกับการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพปัญหาของอาหารปกติสามมื้อหรือที่เรียกว่าห้าหมู่ก็คือการเลือกอาหารที่รายล้อมชีวิตเราในปัจจุบันกลับเลือกได้ไม่มากนัก อาหารเร่งด่วน อาหารขยะ อาหารแปรรูป หารับประทานได้ง่ายเหลือเกิน หลายท่านคงคิดว่า หากเรารับประทานในปริมาณที่เพียงพอนั่นหมายถึงการได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพียงพอนั้น จริงหรือไม่?  ปัจจุบันเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารต่างๆเติบโตและมีบทบาทมากขึ้น กอปรกับสภาวะแวดล้อม ดิน แร่ธาตุ สารเคมี ต่างๆ อาจทำลายคุณภาพของวัตถุดิบได้ อีกทั้งกระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วนทำให้การเจริญเติบโตและสะสมคุณค่าทางโภชนาการตามธรรมชาติถูกตัดตอนลงไป เช่นนี้แล้วการรับประทานอาหาร ครบ 5 หมู่เพียงพอจริงหรือ?หากยืดหลัก RDA(Recommended Dietary Allowances) คงสามารถตอบเพียงว่าน่าจะเพียงพอ หรือมากเกินไปจนเกิดการสะสมในรูปไขมัน  แต่สำหรับสุขภาวะสมบูรณ์สูงสุด (Optimal health) แล้วนั้น คงจะเป็นไปได้ยาก และขึ้นกับปัจเจกบุคคลกับบริบทความต้องการที่แตกต่างกันออกไป หากพิจารณาตามคุณค่าทางโภชนาการของ Macronutrients (สารอาหารที่ให้พลังงาน) จะยกตัวอย่างว่าควรหรือไม่ควรรับประทานอะไรดังนี้

    1.1 โปรตีน แหล่งโปรตีน พบได้ตามธรรมชาติทั้งพืชและเนื้อสัตว์หรือแม้แต่กระทั่งร่างกายของเราเองก็สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เองที่เรียกว่ากรดอะมิโนไม่จำเป็น แต่กระนั้นแล้วจากอดีตคนให้ความสำคัญเรื่องเนื้อสัตว์ นมไข่ แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีหลักฐานทางการแพทย์มากมายแสดงให้เห็นว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง (Red meat) กลับส่งผลความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้ง่ายกว่า เหตุนี้แนวคิดเรื่องการหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์จึงมีการพัฒนาเป็นวงกว้างและมีหลายงานวิจัยพบว่าการบริโภคโปรตีนจากพืชจะได้ประโยชน์และเกิดปัญหาต่อสุขภาพน้อยกว่า อาทิ พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ธัญพืช คีนัว สาหร่าย เห็ด เป็นต้น หากจำเป็นต้องบริโภคเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสีขาว (White meat) กลุ่มปลาหรือไก่ มากกว่าเนื้อแดง (วัว หมู) เป็นต้น ข้อดีของ Plant based protein คือ ไม่มีโคเลสเตอรอล มีไขมันอิ่มตัวน้อย มีแร่ธาตุและวิตามินผสมตามธรรมชาติ  มีพลังงานต่ำ มีไฟเบอร์ มีพรีไบโอติก(อาหารของโพรไบโอติก) ด้วย เป็นต้น

    1.2 ไขมัน ประกอบด้วย โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ กรดไขมัน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว

    -กรดไขมันอิ่มตัว พบได้จากสัตว์เป็นส่วนใหญ่นั่นก็คือส่วนของมันจากเนื้อสัตว์ ต่างๆซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย อาจพอมีผลดีในการกระตุ้นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากไขมันนอกจากนี้ยังให้ความอบอุ่นได้ดีในช่วงฤดูหนาวแล้วมันจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือไม่ที่ต้องมีไขมันอิ่มตัวเพื่อสิ่งนี้

    -กรดไขมันไม่อิ่มตัว จัดเป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ

    1.MUFA (Mono unsaturated fat) เช่น โอเมก้า 9 : น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว อัลมอนด์ อาโวคาโด สามารถช่วยควบคุมได้ทั้งสารป้องกันการอักเสบและสารก่อการอักเสบให้อยู่ในเกณฑ์สมดุลได้ดี พบมากในอาหาร เมดิเตอเรเนียน

    2.PUFA (Poly unsaturated fat) แบ่งเป็น โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6  กรดไขมันโอเมก้า 3  เช่น EPA DHA เป็นสารตั้งต้นของกลุ่ม Anti-inflammatory cytokines ที่ช่วยต้านการอักเสบในร่างกายได้ดี มักพบในปลาทะเลน้ำลึกตามธรรมชาติ ไม่ใช่ปลาทะเลเลี้ยงในบ่อ เพราะไม่มีกระบวนการสังเคราะห์จากการกินแพลงตอนธรรมชาติ และร่างกายมนุษย์สังเคราะห์เองไม่ได้ แต่อาจได้โอเมก้า 6 ที่มากกว่าเพราะขึ้นกับอาหารที่ปลารับได้รับในขณะเลี้ยงในบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าวโพดเป็นต้น ซึ่งเป็นโอเมก้า 6 นั่นเอง ในพืชสามารถพบได้ใน Flax seed oil ซึ่ง พบว่ามี Alpha linolenic acid ที่เป็นตัวตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็น EPA และ DHA ได้อีกด้วย

    กรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น ไขมันจากสัตว์บกทุกประเภท น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม มักพบว่ามี Arachidonic acid สูง ซึ่งเป็น ตัวกระตุ้นการอักเสบด้วยการทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของ Pro-inflammatory cytokines ก่อเกิดการอักเสบได้ง่ายมากขึ้น ส่วน น้ำมันดอกคำฝอย Safflower oil, Borage oil `พบว่ามี GLA (Gamma linoleic acid) พบว่าช่วยต้านการอักเสบได้เช่นกับโอเมก้า 3  อัตราส่วนของโอเมก้า 6 ต่อ 3 ควรอยู่ในระดับ 4 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่า 4 แต่ปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึง 10-20 ต่อ 1 ก็พบได้

    1.3 คาร์โบไฮเดรต เลือกกลุ่มที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index, GI) และมีไฟเบอร์สูงเช่นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือกลุ่มเผือก มัน ถั่ว รวมไปถึงผักหรือผลไม้ที่ไม่หวาน ควรหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เป็นน้ำหวาน น้ำอัดลม ไอศกรีม หรือแป้งสีขาวที่ผ่านการขัดสี (refined carbohydrate) หลายคนเข้าใจว่าการรับประทานผลไม้หวานๆ ดีต่อสุขภาพแต่ไม่เสมอไปเพราะมีน้ำตาลที่เรียกว่าฟรุคโตสซึ่งจะสามารถทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริกได้เพิ่มขึ้นมีความเสี่ยงต่อกรดยูริกสูงและเกิดโรคเก๊าท์ในอนาคตได้

    2.Sleep เข้านอนช่วงสี่ทุ่มถึงเที่ยงคืนจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับการนอนสิ่งแวดล้อมผ้าปูที่นอนหมอนผ้าม่านที่ปลอดสารพิษหากนอนหลับได้ดีจะตื่นสดชื่นและไม่มีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียระหว่างวัน ปิดไฟมืดสนิทไม่เปิดทีวีนอนไม่ชาร์จอุปกรณ์มือถือบริเวณหัวเตียงหรือไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1 เมตรห่างจากศรีษะ สาเหตุของการนอนไม่พอเป็นหนึ่งปัจจัยสำหรับยุคสมัยในปัจจุบันทำให้เกิดความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายเช่นเมลาโทนินโกรธฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศที่จะทำงานกันแบบสมดุล นอกจากนี้ภาวะการนอนไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพยังส่งเสริมให้เกิดความเครียดทางกายภาพที่เรียกว่า physical stress นำมาซึ่งอาการผิดปกติและการอักเสบต่างๆตามมา

    3.Dietary supplements รับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมในกรณี เช่น รับประทานอาหารตามปกติแบบไม่มีคุณภาพทั้งปริมาณและสัดส่วน กรณีมีกิจวัตรที่มากเกินไปเช่นความเครียดทำงานหนักพักผ่อนน้อยออกกำลังกาย การป้องกันโรคเรื้อรังหรือมีการจำกัดการรับประทานอาหาร สารพันธุกรรมที่พบว่ามีการเผาผลาญหรือความต้องการของสารอาหารชนิดใดมากขึ้น การตรวจเลือดพบว่ามีการขาดสารอาหารหรือวิตามินชนิดนั้นๆ ภาวะที่ต้องการสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด หรือตามดุลยพินิจของแพทย์

    4.Exercise in moderation Aerobic excercise: อย่างน้อย 30 ถึง 45 นาทีต่อวันห้าวันต่อสัปดาห์ Resistant training: ครั้งละ 30 ถึง 60 นาทีสามถึงสี่ครั้งต่อสัปดาห์ Stretching and Body core muscle: yoga pilates หากต้องออกกำลังกายแบบผักโขมควรบริโภคอาหารเสริมกลุ่มต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอ

    5.ควรหลีกเลี่ยงอนุมูลอิสระ (Free radicals ) จากทั้งอนุมูลอิสระจากภายนอกเช่นบุหรี่ ควันพิษ PM 2.5 แอลกอฮอล์ ยา สารเคมี ยาฆ่าแมลงมลภาวะสารกัมมันตภาพรังสีแสงแดดเป็นต้น หลีกเลี่ยงอนุมูลอิสระจากภายในเช่น  ความเครียดทั้งทางกายและทางใจการทำงานหนักหักโหม ไม่ได้พักผ่อน อดอาหารโดยไม่ได้มีการวางแผน อาหารปิ้งอาหารปรุงสุก ย่างไหม้เกรียมหรือที่ผ่านอุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป processed food  อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาหารกลุ่มความเสี่ยง Advance Glycation in products อาหารที่กากใยอาหารต่ำ อาหารหมักดอง อาหารที่มีแคลอรีสูง

    6.Stress ภาวะความเครียด   มีใครบ้างที่ไม่เคยเครียด ทุกคนต้องมีความเครียดแต่สำคัญตรงที่ใครจะรู้ว่าระดับความเครียดของเราอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วหรือไม่และจะจัดการกับมันอย่างไร ก่อนอื่น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายมีภาวะความเครียดดังกล่าว อาการตัวอย่างเช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง สมาธิลดลง นอนไม่หลับ มีภูมิแพ้ มีผื่นตามตัว เหนื่อยง่าย มีอารมณ์ติดลบ น้ำหนักขึ้นไม่ทราบสาเหตุ ปวดตามเนื้อกล้ามเนื้อข้อต่อต่างๆ ติดเชื้อง่าย มีแผลร้อนในมีเริม heartburn กระเพาะอาหาร แสบท้อง ท้องผูก เวียนศีรษะบ้านหมุน อาการใจสั่น ทนต่อความกดดันได้ลำบาก เป็นต้น

    ตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัย ให้คำอธิบายภาวะเครียดเป็น 3 ประเภทเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยรวม คือ

    1.Mental Stress ความเครียดจากจิตใจที่เกิดจากความวิตกกังวลการจินตนาการความคิดหวาดระแวงสิ้นหวัง

    2.Physical Stress เป็นความเครียดทางกายภาพซึ่งหลายคนมักมองข้ามไป เช่นปวดศีรษะ ปวดท้อง อดนอน นอนน้อย อดอาหาร โรคกระเพาะ มีประจำเดือน มีแผลร้อนในไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น

    3.Oxidative Stress  คือ เครียดออกซิเดชั่น เป็นผลจากร่างกายได้รับอนุมูลอิสระจำนวนมาก เกินความสามารถที่จะต่อต้านได้โดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่ทุกคนควรได้รับสารต้านอนุมูนอิสระที่เพิ่มขึ้นและมากพอที่จะต่อต้านกับความเครียดนี้เนื่องจากจะมีผลทำให้เกิดความเสื่อม แก่ ตายและ กลายพันธุ์ของเซลล์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก ของอวัยวะต่างๆ และเป็นเหตุของการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และแก่ก่อนวัยอันควร

    การจัดการความเครียดเป็นสิ่งที่จำเป็นหลังจากที่ประเมินแล้วว่าสาเหตุจากอะไร  ซึ่งการจัดการความเครียดนอกจากภาวะทางกายแล้วสุขภาพจิตยังได้รับผลกระทบอย่างมาก เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันของการเจ็บป่วยซึ่งหากมีภาวะเครียดเรื้อรังมักส่งผลต่อการเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ส่งผลให้ฮอร์โมนต่างๆแปรปรวนทำงานอย่างไร้ความสอดคล้อง ซึ่งเป็นความผิดปกติทางกายไปเสียแล้วและโดยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองกำลังเผชิญสภาวะเช่นนี้ ( Chronic stress lead to Adrenal fatigue, Burnout syndrome)

    8.Psychological well-being and social connectedness สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง โดยใช้เวลาทำกิจกรรมแบบผ่อนคลายกับคนรอบข้างและผู้คนในสังคม เพื่อเป็นการดูแลร่างกายและจิตใจ​ หาวิธีลดความเครียดและจัดการวิถีชีวิตที่มีความผ่อนคลายไม่ตึงไม่หย่อนเกินไปการออกกำลังกายที่ผ่อนคลายการสวดมนตร์บำบัด นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนาจัดบรรยากาศภายในบ้านให้มีความผ่อนคลายเช่นเสียงเพลงทำกิจกรรมนอกบ้านที่สร้างความผ่อนคลายเช่นดูหนังดูละครดูคอนเสิร์ตมีความสุขพยายามคิดบวกมีอารมณ์ขันหัวเราะทั้งนี้ที่แนะนำเป็นคำแนะนำที่กว้างและอาจจะปฏิบัติได้ยากหากผู้ปฏิบัติไม่สามารถเข้าใจบริบทของการผ่อนคลายได้หรือเข้าใจเรื่องของชีวิตที่ควรเป็นไป

    9.Sex  มีรายงานการวิจัยว่าผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัย 40 ถึง 60 ปีที่มีกิจกรรมบนเตียงอย่างน้อยสองครั้งหรือมากกว่าในหนึ่งสัปดาห์พบว่า 50% สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้มากกว่ากลุ่มที่มีน้อยกว่า1 ครั้งหรือไม่มีเลยในหนึ่งเดือน คุณสุภาพบุรุษทั้งหลายหากคุณนอนหลับคุณภาพดี ฮอร์โมนเพศหลั่งได้ดีช่วงเช้าประมาณตี 4 ถึง 5 ส่งผลต่อช่วงเช้าคุณจะตื่นมาเคารพธงชาติ เมื่อไหร่ที่คุณยังรู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าคุณยังมีสุขภาพฮอร์โมนทางเพศที่แข็งแรงอยู่นั่นเอง

    10.Chelation and detoxification and Avoid toxicants : Tobacco use and substance abuse : หาเวลาสำรวจร่างกายด้วยการประเมินภาวะโลหะหนักสะสมในร่างกาย เพื่อพิจารณาการกำจัดส่วนเกินออกไปบ้าง รวมถึงการขจัดสารพิษในร่างกายรวมทั้ง เลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เคมีต่างๆที่มีผลสะสมในร่างกาย

    11.Consult Antiaging expert for health span เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบใหม่ที่เน้นการบูรณาการสุขภาพ

    ท้ายที่สุดแล้วต่อให้เรามีเงินทองมากมาย มีเวลามากพอ มีคนรักที่หวังดี หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลสุขภาพให้คำแนะนำอย่างดี แต่เราไม่มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว องค์ความรู้ที่ดีเพียงใดอาจเป็นเพียงแค่อากาศหรือสายลมพัดผ่าน ก็มิอาจเปลี่ยนแปลงสุขภาพปัจเจกบุคคลได้อย่างแน่นอนเพราะสำคัญที่สุดคือ “หมอที่ดีที่สุดของตัวเราคือ ตัวเราเอง”

     

                                                                                                                                                     Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • สมุทัยเวชศาสตร์ คืออะไร ?

    สมุทัยเวชศาสตร์ คืออะไร ?

    Functional Medicine : สมุทัยเวชศาสตร์ คืออะไร ?

              ทุกคนเคยรู้จักคำว่า root cause of problem ใช่ไหม อธิบายโดยง่ายคือมันคือสาเหตุของการเกิดปัญหานั่นเอง ตามจริงแล้วเป็นการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ที่มีมุมมองในการรักษา แตกต่างจากการดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลทั่วไป (conventional medicine)  โดยจะมุ่งดูแลไปที่ความไม่สมดุลของระบบการทำงานต่างๆ ที่เป็นสาเหตุพื้นฐานของความผิดปกติ ของอาการ อาการแสดง หรือโรค มากกว่าจะมุ่งไปจัดการที่อาการแสดงของโรค หรือตัวโรคเท่านั้น  เรียกได้ว่าไม่รอให้เกิดโรคแล้วรักษาแต่รักษาเมื่อรู้ว่าเริ่มผิดปกติแบบมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั่นเอง ซึ่งวิธีการดูแลแบบที่ทำกันตามปกติเดิมนี้ จะมีผลชัดเจนในกรณีที่มีการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือทราบอาการและวินิจฉัยแล้วเท่านั้น  แต่ในกรณีของการเจ็บป่วยเรื้อรัง ควรต้องผสมผสานการจัดการที่ต้นเหตุของโรค ควบคู่ไปกับการดูแลอาการของโรคด้วย โดย functional medicine  จะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชิง สรีระวิทยา ชีวโมเลกุล หรือกลไกต่างๆที่มุ่งเป้าสู่การอธิบายเพื่อหาเหตุต่างๆที่อาจก่อให้เกิดโรค และหาทางจัดการดับทุกข์ หรือ่าเหตุเหตุนั้นๆ โดยอาศัยหลักการ holistic approach & integrative treatment โดยอาจ ร่วมกับการแพทย์หลายสาขา เช่น Alternative, Nutrition, Hormone, Biochemistry, Dietary supplements, Physical therapy เป็นต้น ซึ่งการดูแลแบบผสมผสานนี้ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากกว่าเรียกว่าเป็นการ สนับสนุนสุขภาพเชิงป้องกันอย่างแท้จริงพร้อมๆไปกับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง

    ปัจจุบัน Functional Medicine เริ่มเป็นที่ยอมรับอย่างมากในหลายประเทศ  โดยมีการนำแนวทางนี้มาใช้มากกว่า 15-20 ปีแล้ว  สำหรับในประเทศไทยมีแพทย์ซึ่งเริ่มสนใจด้านนี้มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนเองได้มีโอกาสเรียนรู้ทางด้านนี้มาพอสมควรจากการ ศึกาด้วยตนเองเพื่อนำประกอบการอธิบายในการเขียนงานวิจัย การอธิบายคนไข้ หรือการสอนนักศึกษา จึงมองว่าองค์ความรู้ทางด้านนี้จะเอื้อประโยชน์ในวงการแพทย์ในอนาคตอย่างมากโดยเฉพาะบริบทของแนวทางการสาเหตุเพื่อการป้องกันกลุ่มโรคเรื้อรังและโรคอื่นๆ

     

        Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center

  • เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คืออะไร?

    เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คืออะไร?

    Antiaging and Regenerative Medicine: เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ กับมุมมองที่ลึกซึ้งมากกว่าคำแปล

    เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพคืออะไรกันแน่และเหตุใดจึงจำเป็นต้องเข้าใจ? ประโยคที่ถูกถามมาโดยตลอด ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ประชาชนหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพในวงกว้าง หลายคนคุ้นเคยและเริ่มเข้าใจ แต่ยังพบว่ามีอีกหลายคนที่คิดเอาเองว่าเข้าใจ แม้กระทั่งบุคลากรทางการแพทย์บางท่านที่ยังเข้าใจว่าเป็นเรื่องของความสวยความงาม การทำให้หน้าดูอ่อนเยาว์ลง การลดเลือนริ้วรอย ด้วยโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ ดูสวย หล่อขึ้น การใช้สเต็มเซลล์เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาอ่อนเยาว์ ด้วยกระบวนการทางความงามที่สัมผัสเฉพาะทางการมองเห็นด้วยตาจากภายนอกเท่านั้น  หรือบางท่านคิดว่าคือการฉีดฮอร์โมนและสารกระตุ้นต่าง ๆ หรือการล้างสารพิษ ดีทอกซ์ลำไส้ หรือในหลอดเลือด เช่น การทำคีเลชั่น เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้วกระบวนการเหล่านั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเวชศาสตร์ชะลอวัยเท่านั้น จริงๆแล้วการทำความเข้าใจในศาสตร์แขนงนี้อย่างลึกซึ้งจริงจังไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ท่านใช้ หลักการ อาทิ การทำนาย(Prediction)  การป้องกัน(Prevention and Protection)  การรักษาฟื้นฟู (Treatment Rejuvenation and Relief)  การกู้ชีพ (Reversal)  โดยอาศัยองค์ความรู้ทางชีวเคมีและวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางการแพทย์ ผนึกผสมผสานแบบบูรณาการเข้ากับศิลปะแห่งการหาสาเหตุจากต้นตอของปัญหาร่วมกับการปรับวิถีการดำรงชีวิต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดสุขภาวะสมบูรณ์สูงสุดในแต่ละปัจเจบุคคล ซึ่งในบริบทนี้ขอเรียบเรียงเป็นประโยคว่า “Antiaging is a medical art of lifestyle and functional medicine for optimal health span”

    ขอยกตัวอย่างเรื่องการทำความงามการทำหน้าเด็กหน้ากระชับ (ไหนๆหลายคนก็คิดว่าเป็นเรื่องเดียวกันแล้ว จริงหรือเปล่า? ) หากเปรียบการใช้เครื่องมือยกกระชับสักอย่างเป็นการปลูกพืชจากเมล็ดพันธุ์ เปรียบเครื่องมือที่ดี คือเมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้วนั้น หากปลูกเมล็ดพันธุ์ไปในดินที่ดีย่อมแข็งแรงสมบูรณ์ออกดอกผลสวยงามฉันใด…การใช้เครื่องมือที่ดีแต่สุขภาพภายในไม่ดีพอ (ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ ไม่ดี) ย่อมเห็นผลที่ไม่ดีพอฉันนั้น เช่นนั้นแล้วเราจะรู้ได้อย่างไร? เนื้อในหรือแก่นแท้ของเวชศาสตร์ชะลอวัยนั้นจึงจำเป็นต้องลึกซึ้งในระดับ “Functional medicine” ระดับการทำงานของ เซลล์และอวัยวะหรือเรียกว่าสมุทัยเวชศาสตร์ (สาเหตุของการเกิดปัญหาหรือความทุกข์) “Functional medicine” คือต้นเหตุของการเกิดทุกข์ แปลง่ายๆว่า สาเหตุของอาการหรือความผิดปกติในร่างกาย สาเหตุของการเกิดสภาวะสุขภาพที่เสื่อมโทรมก่อนจะเป็นโรค เน้นย้ำว่าอ้างอิงตามกระบวนการ ทางวิทยาสาสตร์ ตรรกะ หลักฐานทางวิชาการทางการแพทย์ และปรัชญาในการดำรงชีวิต ซึ่งบางครั้งอาจจะสายเกินไป…พูดให้ง่ายกว่านั้นคือ จะเกิดโรคได้อย่างไรหากเราไม่มีสาเหตุของการเกิด และจะไม่ให้เป็นโรคได้อย่างไรหากเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเริ่มปริ่มโรคแต่เพียงแค่ยังไม่มีอาการ…เวชศาสตร์ชะลอวัยจึงเกี่ยวข้องกับ การดูแลระบบทุกอย่างที่มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ และอะไรก็ตามที่จะส่งผลต่อการเสื่อม แก่ ตาย กลายพันธุ์ ของเซลล์นั่นเอง เวชศาสตร์ชะลอวัยยังเกี่ยวข้องกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ( lifestyle modification) เช่นการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย การพักผ่อนกายใจคลายความเครียด การนอน ภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง สารต้านอนุมูลอิสระ  หรือแม้กระทั่งเวชศาสตร์ความงามซึ่งก็จัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งในเวชศาสตร์ชะลอวัยดังที่กล่าวไป นั่นเอง โดยอาศัยคำเหล่านี้ optimal / individual / personalized /tailor made….ทำให้สุขภาพสมบูรณ์มากที่สุดก่อนจะเป็นโรค และอะไรที่เป็นความเสี่ยงต่อการเป็นโรค หากเราชะลอไว้ได้ก็จะทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ช้าที่สุด เน้นย้ำว่าองค์ความรู้อ้างอิงตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์(Science) ตรรกะ(Logic) หลักฐานวิชาการทางการแพทย์(Medical research evidences)  และปรัชญาในการดำรงชีวิต (Lifestyle Philosophy)

    ชะลอวัยไปทำไม ปล่อยตามวัยดีไหม? เป้าหมายการมีชีวิต longevity และ quality of life เริ่มได้เมื่อพร้อมไม่ต้องรอเมื่อเริ่มแก่ชรา เพราะบางคนตัวเลขอายุไม่สัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย แล้วใช้ตัวเลขเป็นเกณฑ์วัดจริงหรือ?  อายุไขเฉลี่ยผู้หญิง มากกว่า ชาย ประมาณ 5-7 ปี จากอดีตเราตายก่อนแก่ เพราะการแพทย์ยังไม่ก้าวหน้า เช่นปัญหาติดเชื้อหรือโรคที่เกินเยียวยา แต่ปัจจุบันแก่ก่อนตายเพราะนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวไกล แต่กระนั้นก็ยังมีคนเป็นมะเร็งและโรคหัวใจ รวมถึงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เรียกว่า NCDs อยู่ดี จากที่กล่าวมาข้างต้น หน้าที่ของการให้คำปรึกษาเรื่องปัญหาเหล่านี้เพียงเพื่อต้องการจะแบ่งเบาภาระของบุคคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลที่รับศึกหนักอยู่แล้วตลอดมาและคาดว่าจะอีกยาวไกล หากประชาชนยังไม่มีความเข้าใจที่มากพอในเรื่องของการชะลอ ซึ่งเป็นที่มาของชะลอวัย นั่นเอง

    ขอถามปลายเปิดกับทุกท่านกลับสักหน่อยว่าเมื่อถึงวัยที่อายุมากขึ้น เราอยากมีชีวิตแบบนั่งกินนอนกิน หรืออยากเดินหรือวิ่งไปกินแบบรู้สึกสุขภาพดีจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต? ตรวจสุขภาพร่างกายแล้วไม่มีโรคแสดงว่าตนแข็งแรงดีจริงหรือ? เพราะการตรวจหาโรค (Medical disease check up คือการดูว่าเป็นโรคใดบ้างหรือไม่ แต่ไม่ใช่การดูเพื่อหาว่าร่างกายจะปกติ แบบสุขภาพดีจริงๆ เพราะนั้นจะยังมีกลุ่มที่รู้สึกไม่สบาย แต่ไม่ได้เป็นโรคอีกมากมายที่ ควรมองหา  Antiaging check-up (การตรวจสุขภาพทางเวชศาสตร์ชะลอวัย) เพิ่มเติม สุขภาพดี ต้องแบบ Optimal health  ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดกับแต่ละคน รักษาคนให้เป็นคนที่สุขภาพดี โดยมองทุกปัญหา ไม่ใช่รักษาตัวเลขและกลายเป็นคนมีผลข้างเคียงจากการรักษา…ซึ่งนั่นหมายความว่าไม่ wellbeing medical check-up ไม่เท่ากับ healthy check up รู้ก่อนป่วยดีกว่าไหม ?  ก่อนที่อะไรจะสายเกินแก้ไขอย่างที่ทุกคนในสังคมกำลังประสบกันอยู่ ที่ครั้งแล้วที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คร่าชีวิตมวลมนุษยชาติไปในแต่ละปี กี่ครั้งแล้วกับคำว่ารู้แบบนี้ไม่ทำดีกว่า สำคัญที่การรับรู้ทางสุขภาพของผู้คน การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ จากเรื่องยากให้เป็นง่าย และเรื่องที่ควรปฏิบัติและเห็นผลได้จริง เพื่อเปลี่ยนทัศนคติ อุดมคติทางสุขภาพ ด้วยปณิธานที่ว่าจะขอเป็นสะพานเชื่อมประสานถ่ายทอดองค์ความรู้จากความเป็นวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์สู่ฟากฝั่งศิลปศาสตร์รวมถึงมวลชนทุกแขนง ให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับการดูแลสุขภาพเชิงศิลปะทางการแพทย์เช่นนี้สืบไป

     

        Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med

                                   อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย

    Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU

    The MetX Center