Your cart is currently empty!
ความแตกต่างของการตรวจแนว Functional medicine กับการตรวจสุขภาพทั่วไป ?

ความแตกต่างของการตรวจแนว Functional medicine กับการตรวจสุขภาพทั่วไป ?
Keyword คือ “คนไม่ป่วยก็ตรวจได้” “คนไม่ป่วยไม่ได้หมายความว่าปกติ” “สาเหตุที่แท้จริง” “รู้ได้ล่วงหน้า”
การตรวจวิเคราะห์สุขภาวะแนว (Functional Medicine) เป็นการตรวจในระดับที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง สามารถชี้ชัดถึงความไม่สมดุลของการทำงานของร่างกาย อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งมักจะประกอบด้วยหลายปัจจัย ร่วมกัน ทั้งนี้จะอาศัยรายงานผลของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ น้ำลาย อุจจาระ เป็นต้น เป็นข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์ เรียกว่าเป็นลักษณะที่หลายคนเรียกว่า early detection หรือแปลให้เข้าใจง่ายๆว่า ไม่ต้องรอให้เป็นโรคแล้วจึงตรวจพบ แต่สามารถพบความผิดปกติตั้งแต่ยังไม่ก่อโรค ด้วยการอธิบายทางกลไกต่างๆตามหลัก สรีระวิทยา(physiology) ชีวเคมี (biochemistry) กระบวนการเผาผลาญ การดูดซึมสารอาหารของร่างกาย การตกค้างของของเสีย สารพิษ และ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพในร่างกาย อันเป็นสาเหตุพื้นฐาน ที่นำไปสู่อาการ และผลของโรคต่างๆ การให้ความใส่ใจในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จะทำให้ทราบถึงความไม่สมดุลของการทำงาน อันเป็นเหตุพื้นฐานของการเกิดโรค และอาการแสดงของโรคได้ดีกว่า ซึ่งจะนำไปสู่หนทางในการปรับปรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการทำงานของร่างกาย โดยวิถีของธรรมชาติ และ ให้ความหวังในการหายจากโรคเรื้อรังในระยะยาวได้มากกว่าการตรวจแบบทั่วไป ซึ่งมักจะนำไปสู่การดูแล โดยใช้ยา และปฏิบัติการต่าง เพื่อเข้าไปกด ยับยั้ง การทำงานปกติ เพื่อควบคุมอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่เพียงในระยะเฉียบพลัน จึงการตรวจสุขภาพทั่วไปว่าเป็นการมุ่งหา อาการ หรือ อาการแสดงที่ผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงจัดว่าเป็นการมุ่งตรวจเพื่อมองหาโรคที่เป็นอยู่แล้ว หรือกำลังก่อตัวขึ้นแล้วเป็นสำคัญ
Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med
อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย
Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU
The MetX Center