Your cart is currently empty!
สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด พลังจากปัจเจกสู่จักรวาลในจานข้าว

The Universe of Optimal Health สุขภาพสมบูรณ์สูงสุด พลังจากปัจเจกสู่จักรวาลในจานข้าว
Wellness Living Design: Home wellness Cuisine
ไม่มีวิกฤติครั้งใดที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยเท่ากับ COVID-19 Pandemic ไม่มีวิกฤติครั้งใดที่ส่งผลกระทบต่อคนไทยเท่ากับ COVID-19 Pandemic ในยุคสมัยของ New normal & Next normal พร้อมยอมรับ ปรับตัว ไม่กลัว อนาคต พร้อมขับเคลื่อนแนวคิด ด้วยปรัชญาแห่งชีวิตวิถีใหม่ พร้อมเริ่มต้นกับการใส่ใจสุขภาพแบบบูรณาการ เมื่อบ้าน คือ ศูนย์กลางของทุกสิ่งจะพักพิงและพึ่งพาหลังโควิดอย่างไรให้ สุขกาย สบายใจ Pandamial Generation is ongoing uncertainty เมื่อวัยโชนแสงแห่ง ยุค Pandemial ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน สถานการณ์โควิดที่ทุกคนทราบดี พรากโอกาสในชีวิต อาทิ การศึกษาเรียนรู้ การปฎิบัติงาน ประสบการณ์และที่สำคัญคือเป้าหมายที่วางไว้ ล้มระเนระนาดอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว คือความสิ้นหวัง ทั้งถูกเปรียบเทียบจากรุ่นบุพการี สูญเสียศรัทธาในตนเอง สูญเสียพลังทั้งกายใจ ก่อเกิดความวิตกกังวลใจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและเครียดเรื้อรัง ยังผลต่อสุขภาวะทางกายอย่างยิ่งยวดด้วยองค์รวมของสุขภาพ
Physical , Mental & Wellness health impact เมื่อยุคสมัยส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่งอยู่กับที่ (Sedentary lifestyle) ซึ่งจากหลายการวิจัยพบว่าเป็นสาเหตุการเกิดโรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome รวมไปถึงโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-communicable diseases, NCDs ) ที่น่ากลัวเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมองโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานหรือแม้กระทั่งปลายทาของเบาหวาน คือโรคไตวายเรื้อรังเป็นต้น อีกประเด็นที่อยากจะหยิบยกนั่นก็คือทั้งสามภาวะข้างต้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ สุขภาวะทางภูมิคุ้มกัน (Immune health declined and imbalance) นับเป็น Post-Pandemic Wellness Trends ในการประคับประคองสุขภาวะสมบูรณ์สูงสุด เพื่อเข้าใกล้เป้าประสงค์หลักคือ Quality of life in all aspect นั่นเอง อีกสิ่งที่อยากเน้นย้ำนั่นก็คือเมื่อเรารู้จักประเมินตนเองและมีองค์ความรู้ในการดูแลตนเองได้ดีมากพอ จะส่งผลให้ตัวเรากลายเป็นหมอที่ดีที่สุดของตัวเราเอง ( The best doctor is ourselves)
How to optimize the symphony of wellness หากกล่าวถึงการดูแลแบบบูรณาการทางสุขภาพแล้วจะแนะนำให้คำนึงถึง 2 หลักการใหญ่ดังต่อไปนี้
-Conceptualize Health & Wellness Perception ประเด็นนี้หมายถึงการให้คุณค่าและความหมายต่อการรับรู้และประเมินสุขภาพของตนเอง (Realize unhealthy lifestyles and recognize the consequences) กล่าวคือหากเราเข้าใจในผลกระทบ และรู้ว่าการดูแลด้วยวิธีการป้องกันก่อนแก้ไขมักจะได้ผลดีและยั่งยืนกว่าโดยอาศัยหลักคิด ง่ายๆ บ้านๆที่ว่าไม่มีใครอยากนั่งกินนอนกิน แต่ทุกคนอยากเดินไปกินวิ่งไปกิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สุขภาพดีจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต” ด้วยแนวคิดนี้จึงทำให้เราเห็นคุณค่าของ Health span ซึ่งลึกซึ้งกว่า lifespan นั่นเอง
-Lifestyle Modification Approaches เป็นที่ทราบกันดีว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ร่วมไปกับการรักษาทางการแพทย์ แต่การที่จะสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้ นั้นย่อมเป็นสิ่งท้าทายเสมอมา เพราะต้องอาศัย compliance หมายถึงความร่วมมือและมีวินัยอย่างสม่ำเสมอ ในที่นี้จะยกตัวอย่างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบบูรณาการเบื้องต้น ดังนี้
1.Diet: Cuisine: Nutrition คงมิอาจต้องสาธยายมากกับประโยคที่ว่า “We are what we eat” เพราะทุกท่านคงจะเข้าใจความหมายเป็นอย่างดี แต่จะตีความอย่างไรขึ้นกับการรับรู้เรื่องการดูแลสุขภาพปัญหาของอาหารปกติสามมื้อหรือที่เรียกว่าห้าหมู่ก็คือการเลือกอาหารที่รายล้อมชีวิตเราในปัจจุบันกลับเลือกได้ไม่มากนัก อาหารเร่งด่วน อาหารขยะ อาหารแปรรูป หารับประทานได้ง่ายเหลือเกิน หลายท่านคงคิดว่า หากเรารับประทานในปริมาณที่เพียงพอนั่นหมายถึงการได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเพียงพอนั้น จริงหรือไม่? ปัจจุบันเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารต่างๆเติบโตและมีบทบาทมากขึ้น กอปรกับสภาวะแวดล้อม ดิน แร่ธาตุ สารเคมี ต่างๆ อาจทำลายคุณภาพของวัตถุดิบได้ อีกทั้งกระบวนการแปรรูปอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วนทำให้การเจริญเติบโตและสะสมคุณค่าทางโภชนาการตามธรรมชาติถูกตัดตอนลงไป เช่นนี้แล้วการรับประทานอาหาร ครบ 5 หมู่เพียงพอจริงหรือ?หากยืดหลัก RDA(Recommended Dietary Allowances) คงสามารถตอบเพียงว่าน่าจะเพียงพอ หรือมากเกินไปจนเกิดการสะสมในรูปไขมัน แต่สำหรับสุขภาวะสมบูรณ์สูงสุด (Optimal health) แล้วนั้น คงจะเป็นไปได้ยาก และขึ้นกับปัจเจกบุคคลกับบริบทความต้องการที่แตกต่างกันออกไป หากพิจารณาตามคุณค่าทางโภชนาการของ Macronutrients (สารอาหารที่ให้พลังงาน) จะยกตัวอย่างว่าควรหรือไม่ควรรับประทานอะไรดังนี้
1.1 โปรตีน แหล่งโปรตีน พบได้ตามธรรมชาติทั้งพืชและเนื้อสัตว์หรือแม้แต่กระทั่งร่างกายของเราเองก็สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เองที่เรียกว่ากรดอะมิโนไม่จำเป็น แต่กระนั้นแล้วจากอดีตคนให้ความสำคัญเรื่องเนื้อสัตว์ นมไข่ แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีหลักฐานทางการแพทย์มากมายแสดงให้เห็นว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง (Red meat) กลับส่งผลความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้ง่ายกว่า เหตุนี้แนวคิดเรื่องการหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์จึงมีการพัฒนาเป็นวงกว้างและมีหลายงานวิจัยพบว่าการบริโภคโปรตีนจากพืชจะได้ประโยชน์และเกิดปัญหาต่อสุขภาพน้อยกว่า อาทิ พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ธัญพืช คีนัว สาหร่าย เห็ด เป็นต้น หากจำเป็นต้องบริโภคเนื้อสัตว์ควรเป็นเนื้อสีขาว (White meat) กลุ่มปลาหรือไก่ มากกว่าเนื้อแดง (วัว หมู) เป็นต้น ข้อดีของ Plant based protein คือ ไม่มีโคเลสเตอรอล มีไขมันอิ่มตัวน้อย มีแร่ธาตุและวิตามินผสมตามธรรมชาติ มีพลังงานต่ำ มีไฟเบอร์ มีพรีไบโอติก(อาหารของโพรไบโอติก) ด้วย เป็นต้น
1.2 ไขมัน ประกอบด้วย โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ กรดไขมัน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว
-กรดไขมันอิ่มตัว พบได้จากสัตว์เป็นส่วนใหญ่นั่นก็คือส่วนของมันจากเนื้อสัตว์ ต่างๆซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย อาจพอมีผลดีในการกระตุ้นฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากไขมันนอกจากนี้ยังให้ความอบอุ่นได้ดีในช่วงฤดูหนาวแล้วมันจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือไม่ที่ต้องมีไขมันอิ่มตัวเพื่อสิ่งนี้
-กรดไขมันไม่อิ่มตัว จัดเป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ
1.MUFA (Mono unsaturated fat) เช่น โอเมก้า 9 : น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว อัลมอนด์ อาโวคาโด สามารถช่วยควบคุมได้ทั้งสารป้องกันการอักเสบและสารก่อการอักเสบให้อยู่ในเกณฑ์สมดุลได้ดี พบมากในอาหาร เมดิเตอเรเนียน
2.PUFA (Poly unsaturated fat) แบ่งเป็น โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 กรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น EPA DHA เป็นสารตั้งต้นของกลุ่ม Anti-inflammatory cytokines ที่ช่วยต้านการอักเสบในร่างกายได้ดี มักพบในปลาทะเลน้ำลึกตามธรรมชาติ ไม่ใช่ปลาทะเลเลี้ยงในบ่อ เพราะไม่มีกระบวนการสังเคราะห์จากการกินแพลงตอนธรรมชาติ และร่างกายมนุษย์สังเคราะห์เองไม่ได้ แต่อาจได้โอเมก้า 6 ที่มากกว่าเพราะขึ้นกับอาหารที่ปลารับได้รับในขณะเลี้ยงในบ่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มข้าวโพดเป็นต้น ซึ่งเป็นโอเมก้า 6 นั่นเอง ในพืชสามารถพบได้ใน Flax seed oil ซึ่ง พบว่ามี Alpha linolenic acid ที่เป็นตัวตั้งต้นในการเปลี่ยนเป็น EPA และ DHA ได้อีกด้วย
กรดไขมันโอเมก้า 6 เช่น ไขมันจากสัตว์บกทุกประเภท น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม มักพบว่ามี Arachidonic acid สูง ซึ่งเป็น ตัวกระตุ้นการอักเสบด้วยการทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้นของ Pro-inflammatory cytokines ก่อเกิดการอักเสบได้ง่ายมากขึ้น ส่วน น้ำมันดอกคำฝอย Safflower oil, Borage oil `พบว่ามี GLA (Gamma linoleic acid) พบว่าช่วยต้านการอักเสบได้เช่นกับโอเมก้า 3 อัตราส่วนของโอเมก้า 6 ต่อ 3 ควรอยู่ในระดับ 4 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่า 4 แต่ปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึง 10-20 ต่อ 1 ก็พบได้
1.3 คาร์โบไฮเดรต เลือกกลุ่มที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index, GI) และมีไฟเบอร์สูงเช่นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือกลุ่มเผือก มัน ถั่ว รวมไปถึงผักหรือผลไม้ที่ไม่หวาน ควรหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตชนิดที่เป็นน้ำหวาน น้ำอัดลม ไอศกรีม หรือแป้งสีขาวที่ผ่านการขัดสี (refined carbohydrate) หลายคนเข้าใจว่าการรับประทานผลไม้หวานๆ ดีต่อสุขภาพแต่ไม่เสมอไปเพราะมีน้ำตาลที่เรียกว่าฟรุคโตสซึ่งจะสามารถทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริกได้เพิ่มขึ้นมีความเสี่ยงต่อกรดยูริกสูงและเกิดโรคเก๊าท์ในอนาคตได้
2.Sleep เข้านอนช่วงสี่ทุ่มถึงเที่ยงคืนจัดบรรยากาศให้เหมาะสมกับการนอนสิ่งแวดล้อมผ้าปูที่นอนหมอนผ้าม่านที่ปลอดสารพิษหากนอนหลับได้ดีจะตื่นสดชื่นและไม่มีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียระหว่างวัน ปิดไฟมืดสนิทไม่เปิดทีวีนอนไม่ชาร์จอุปกรณ์มือถือบริเวณหัวเตียงหรือไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1 เมตรห่างจากศรีษะ สาเหตุของการนอนไม่พอเป็นหนึ่งปัจจัยสำหรับยุคสมัยในปัจจุบันทำให้เกิดความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกายเช่นเมลาโทนินโกรธฮอร์โมนไทรอยด์ฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศที่จะทำงานกันแบบสมดุล นอกจากนี้ภาวะการนอนไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพยังส่งเสริมให้เกิดความเครียดทางกายภาพที่เรียกว่า physical stress นำมาซึ่งอาการผิดปกติและการอักเสบต่างๆตามมา
3.Dietary supplements รับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติมในกรณี เช่น รับประทานอาหารตามปกติแบบไม่มีคุณภาพทั้งปริมาณและสัดส่วน กรณีมีกิจวัตรที่มากเกินไปเช่นความเครียดทำงานหนักพักผ่อนน้อยออกกำลังกาย การป้องกันโรคเรื้อรังหรือมีการจำกัดการรับประทานอาหาร สารพันธุกรรมที่พบว่ามีการเผาผลาญหรือความต้องการของสารอาหารชนิดใดมากขึ้น การตรวจเลือดพบว่ามีการขาดสารอาหารหรือวิตามินชนิดนั้นๆ ภาวะที่ต้องการสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด หรือตามดุลยพินิจของแพทย์
4.Exercise in moderation Aerobic excercise: อย่างน้อย 30 ถึง 45 นาทีต่อวันห้าวันต่อสัปดาห์ Resistant training: ครั้งละ 30 ถึง 60 นาทีสามถึงสี่ครั้งต่อสัปดาห์ Stretching and Body core muscle: yoga pilates หากต้องออกกำลังกายแบบผักโขมควรบริโภคอาหารเสริมกลุ่มต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอ
5.ควรหลีกเลี่ยงอนุมูลอิสระ (Free radicals ) จากทั้งอนุมูลอิสระจากภายนอกเช่นบุหรี่ ควันพิษ PM 2.5 แอลกอฮอล์ ยา สารเคมี ยาฆ่าแมลงมลภาวะสารกัมมันตภาพรังสีแสงแดดเป็นต้น หลีกเลี่ยงอนุมูลอิสระจากภายในเช่น ความเครียดทั้งทางกายและทางใจการทำงานหนักหักโหม ไม่ได้พักผ่อน อดอาหารโดยไม่ได้มีการวางแผน อาหารปิ้งอาหารปรุงสุก ย่างไหม้เกรียมหรือที่ผ่านอุณหภูมิเกิน 100 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป processed food อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงอาหารกลุ่มความเสี่ยง Advance Glycation in products อาหารที่กากใยอาหารต่ำ อาหารหมักดอง อาหารที่มีแคลอรีสูง
6.Stress ภาวะความเครียด มีใครบ้างที่ไม่เคยเครียด ทุกคนต้องมีความเครียดแต่สำคัญตรงที่ใครจะรู้ว่าระดับความเครียดของเราอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วหรือไม่และจะจัดการกับมันอย่างไร ก่อนอื่น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าร่างกายมีภาวะความเครียดดังกล่าว อาการตัวอย่างเช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง สมาธิลดลง นอนไม่หลับ มีภูมิแพ้ มีผื่นตามตัว เหนื่อยง่าย มีอารมณ์ติดลบ น้ำหนักขึ้นไม่ทราบสาเหตุ ปวดตามเนื้อกล้ามเนื้อข้อต่อต่างๆ ติดเชื้อง่าย มีแผลร้อนในมีเริม heartburn กระเพาะอาหาร แสบท้อง ท้องผูก เวียนศีรษะบ้านหมุน อาการใจสั่น ทนต่อความกดดันได้ลำบาก เป็นต้น
ตามหลักเวชศาสตร์ชะลอวัย ให้คำอธิบายภาวะเครียดเป็น 3 ประเภทเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยรวม คือ
1.Mental Stress ความเครียดจากจิตใจที่เกิดจากความวิตกกังวลการจินตนาการความคิดหวาดระแวงสิ้นหวัง
2.Physical Stress เป็นความเครียดทางกายภาพซึ่งหลายคนมักมองข้ามไป เช่นปวดศีรษะ ปวดท้อง อดนอน นอนน้อย อดอาหาร โรคกระเพาะ มีประจำเดือน มีแผลร้อนในไมเกรน ออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น
3.Oxidative Stress คือ เครียดออกซิเดชั่น เป็นผลจากร่างกายได้รับอนุมูลอิสระจำนวนมาก เกินความสามารถที่จะต่อต้านได้โดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นที่ทุกคนควรได้รับสารต้านอนุมูนอิสระที่เพิ่มขึ้นและมากพอที่จะต่อต้านกับความเครียดนี้เนื่องจากจะมีผลทำให้เกิดความเสื่อม แก่ ตายและ กลายพันธุ์ของเซลล์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก ของอวัยวะต่างๆ และเป็นเหตุของการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และแก่ก่อนวัยอันควร
การจัดการความเครียดเป็นสิ่งที่จำเป็นหลังจากที่ประเมินแล้วว่าสาเหตุจากอะไร ซึ่งการจัดการความเครียดนอกจากภาวะทางกายแล้วสุขภาพจิตยังได้รับผลกระทบอย่างมาก เป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันของการเจ็บป่วยซึ่งหากมีภาวะเครียดเรื้อรังมักส่งผลต่อการเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ส่งผลให้ฮอร์โมนต่างๆแปรปรวนทำงานอย่างไร้ความสอดคล้อง ซึ่งเป็นความผิดปกติทางกายไปเสียแล้วและโดยส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตนเองกำลังเผชิญสภาวะเช่นนี้ ( Chronic stress lead to Adrenal fatigue, Burnout syndrome)
8.Psychological well-being and social connectedness สร้างและรักษาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง โดยใช้เวลาทำกิจกรรมแบบผ่อนคลายกับคนรอบข้างและผู้คนในสังคม เพื่อเป็นการดูแลร่างกายและจิตใจ หาวิธีลดความเครียดและจัดการวิถีชีวิตที่มีความผ่อนคลายไม่ตึงไม่หย่อนเกินไปการออกกำลังกายที่ผ่อนคลายการสวดมนตร์บำบัด นั่งสมาธิ เจริญวิปัสสนาจัดบรรยากาศภายในบ้านให้มีความผ่อนคลายเช่นเสียงเพลงทำกิจกรรมนอกบ้านที่สร้างความผ่อนคลายเช่นดูหนังดูละครดูคอนเสิร์ตมีความสุขพยายามคิดบวกมีอารมณ์ขันหัวเราะทั้งนี้ที่แนะนำเป็นคำแนะนำที่กว้างและอาจจะปฏิบัติได้ยากหากผู้ปฏิบัติไม่สามารถเข้าใจบริบทของการผ่อนคลายได้หรือเข้าใจเรื่องของชีวิตที่ควรเป็นไป
9.Sex มีรายงานการวิจัยว่าผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัย 40 ถึง 60 ปีที่มีกิจกรรมบนเตียงอย่างน้อยสองครั้งหรือมากกว่าในหนึ่งสัปดาห์พบว่า 50% สามารถลดอัตราการเสียชีวิตลงได้มากกว่ากลุ่มที่มีน้อยกว่า1 ครั้งหรือไม่มีเลยในหนึ่งเดือน คุณสุภาพบุรุษทั้งหลายหากคุณนอนหลับคุณภาพดี ฮอร์โมนเพศหลั่งได้ดีช่วงเช้าประมาณตี 4 ถึง 5 ส่งผลต่อช่วงเช้าคุณจะตื่นมาเคารพธงชาติ เมื่อไหร่ที่คุณยังรู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าคุณยังมีสุขภาพฮอร์โมนทางเพศที่แข็งแรงอยู่นั่นเอง
10.Chelation and detoxification and Avoid toxicants : Tobacco use and substance abuse : หาเวลาสำรวจร่างกายด้วยการประเมินภาวะโลหะหนักสะสมในร่างกาย เพื่อพิจารณาการกำจัดส่วนเกินออกไปบ้าง รวมถึงการขจัดสารพิษในร่างกายรวมทั้ง เลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การใช้เคมีต่างๆที่มีผลสะสมในร่างกาย
11.Consult Antiaging expert for health span เป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบใหม่ที่เน้นการบูรณาการสุขภาพ
ท้ายที่สุดแล้วต่อให้เรามีเงินทองมากมาย มีเวลามากพอ มีคนรักที่หวังดี หรือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลสุขภาพให้คำแนะนำอย่างดี แต่เราไม่มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว องค์ความรู้ที่ดีเพียงใดอาจเป็นเพียงแค่อากาศหรือสายลมพัดผ่าน ก็มิอาจเปลี่ยนแปลงสุขภาพปัจเจกบุคคลได้อย่างแน่นอนเพราะสำคัญที่สุดคือ “หมอที่ดีที่สุดของตัวเราคือ ตัวเราเอง”
Phawit Norchai MD MSc PhD ABAARM Prev.Med
อาจารย์.ดร.นายแพทย์ ภาวิต หน่อไชย
Assistant Director of Graduate program (PhD & Master degree) in Antiaging and Regenerative Medicine, DPU
The MetX Center